บทความ

ชป. เดินหน้าแผนบริหารเพิ่มปริมาณน้ำเจือจางและไล่น้ำเค็ม ในพื้นที่จ.ฉะเชิงเทรา และจ.สมุทรปราการ

รูปภาพ
วันนี้ (21 เม.ย. 67) ที่ห้องประชุมโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์ไชยานุชิต จังหวัดฉะเชิงเทรา นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน ร่วมประชุมหน่วยปฏิบัติการจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 3/2567  โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประธานหน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นประธานการประชุมผ่านทางระบบ VDO Conference ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานและแนวทางการปรับแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำเค็มจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ กรมชลประทาน ยังคงเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง โดยมีการระดมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 26 เครื่อง พร้อมกันนี้ยังได้ส่งเรือนวัตกรรมกำจัดวัชพืช จำนวน 7 ลำ เข้าไปกำจัดวัชพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและรักษาคุณภาพน้ำไม่ให้เน่าเสีย ตลอดจนส่งน้ำอุปโภค-บริโภค ช่วยเหลือประชาชน 2,320 ครัวเรือน ในเขตพื้นที่ 9 หมู่บ้าน รวมปริมาณน้ำทั้งสิ้น 990,000 ลิตร ทั้งนี้ กรมชลประทาน มีแนวทางการดำเนินการบริหารเพิ่

ชป.ขานรับข้อสั่งการ รมว.ธรรมนัสฯ เร่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนผลไม้ ส่งเสริมเศรษฐกิจภาคตะวันออก

รูปภาพ
นายชูชาติ  รักจิตร   อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ร้อยเอก ธรรมนัส  พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกรชาวสวนผลไม้เมืองจันทบุรี ที่กำลังประสบปัญหาภัยแล้ง ได้สั่งการให้เร่งแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก (คลองวังโตนด , แม่น้ำจันทบุรี) ลุ่มน้ำโตนเลสาป (คลองเวฬุ , คลองพระพุทธ) และลุ่มน้ำบางปะกง(คลองพระสทึง)  ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญๆ  อาทิ  ทุเรียน มังคุด และเงาะ เป็นต้น  จึงได้สั่งการให้โครงการชลประทานในพื้นที่ เข้าไปช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดให้กับเกษตรกร โดยในเบื้องต้นให้เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เพื่อสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรอย่างต่อเนื่อง    พร้อมกับจัดส่งรถบรรทุกน้ำ 20 คัน ขนน้ำเข้าไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรนำไปเพาะปลูกได้อย่างเพียงพอจนกว่าจะถึงฤดูเก็บเกี่ยว   นอกจากนี้ ยังได้วางแผนก่อสร้างทำนบชั่วคราว พร้อมเสริมสันฝายในลำน้ำให้สูงขึ้น สำหรับเก็บกักน้ำไว้เป็นช่วงๆ  รวมทั้งขุดชักร่องน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าให้น้ำไหลได้สะดวกสามารถสูบน้ำไปใช้ได้ ลดความเสี่ยงต่อผลผลิตเสียหายจากปริมาณน้ำไม่เพ