บทความ

HOT NEWS

กรมชลฯ ส่งน้ำช่วยสวนทุเรียนป่าละอู ป้องผลผลิตรอดภัยแล้ง

รูปภาพ
จากสถานการณ์ภัยแล้งที่รัฐบาลมีความเป็นห่วงว่าจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในภาคการเกษตร กรมชลประทานได้เร่งให้ความช่วยเหลือ ส่งน้ำช่วยเกษตรกรชาวสวนทุเรียนป่าละอู และประชาชนที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สำนักงานชลประทานที่ 14 ได้สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ แจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน โดยส่งน้ำไปแล้วจำนวน 47 เที่ยว รวมปริมาณน้ำ 282,000 ลิตร พร้อมกันนี้ ยังได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำจากบ่อก่อสร้างของโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านป่าละอู ส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกทุเรียน ในพื้นที่หมู่ 3 บ้านป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการติดตั้งกาลักน้ำจากอ่างเก็บน้ำค่ายฤทธิฤาชัย เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำที่ไหลลงมาตามลำน้ำเดิม (แม่น้ำปราณบุรี) ให้กับประชาชนทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำปราณบุรี ได้สูบน้ำไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค

สชป.7 ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตาม การดำเนินงาน ตามข้อสั่งการ รมว.เกษตรฯ

รูปภาพ
วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม 2567  นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงาน ตามข้อสั่งการของ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ สวนตารมย์ บ้านดอนหมู ตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี   ในการนี้ ดร.จักริน ประเสริฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 7 มอบหมายให้ นายวุฒิชัย ศรีทอง ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา พร้อมด้วย นายสัมพันธ์ เดือนศิริรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุบลราชธานี และนายไชยกาญจน์ สุภะเกษ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 ร่วมติดตามการลงพื้นที่ดังกล่าว  สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีข้อสั่งการให้กรมชลประทาน พิจารณาแนวทางการจัดหาแหล่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของพี่น้องเกษตรกร และช่วยเหลือศูนย์บริการขับเคลื่อนโครงการระบบการผลิตข้าวที่ยั่งยืนแบบองค์รวม (Inclusive Sustainable Rice Landscape Project)  ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป

ชป.ระดมติดตั้งเครื่องสูบน้ำพร้อมตัดตอนผักตบชวา หวังเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำ-ระบายน้ำ ก่อนเข้าหน้าฝน

รูปภาพ
เพราะห่วงใยประชาชน กรมชลประทานจึงไม่หยุด เร่งนำทัพเครื่องจักร เครื่องมือ และกำลังคนติดตั้งเครื่องสูบน้ำ รวมไปถึงตัดตอนวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำและระบายน้ำ ก่อนจะเข้าฤดูฝน พร้อมกับสนับสนุนรถบรรทุกน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้วย ตามนโยบายของรัฐบาล และ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิ ภารกิจติดตั้งสูบน้ำ สำนักงานชลประทานที่ 15 ติดตั้งจำนวน 1 เครื่อง บริเวณ บ้านเกาะทวด หมู่ที่ 1 ตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด-กระแสสินธุ์ ติดตั้งจำนวน 1 เครื่อง ณ บริเวณหมู่ที่ 5 ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา  สำนักงานชลประทานที่ 17 ติดตั้งรวมจำนวน 2 เครื่อง ณ บริเวณประตูระบายน้ำสุไหงปาดี 1 บ้านยูโย หมู่ 6 ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ และ บริเวณประตูระบายน้ำสุไหงปาดี 2 บ้านปิเหล็ง หมู่ 7 ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส                ภารกิจกำจัดผักตบชวาและสนับสนุนรถบรรทุกน้ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่าเชียด ณ บริเวณสายคลองส่งน้ำสาย 1R-RMC1 ในเขตพื

ชป. ย้ำเขื่อนป่าสักฯ น้ำพอใช้จนถึงต้นฤดูฝนนี้

รูปภาพ
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนเก็บกักน้ำ 1 ใน 4 เขื่อนหลัก ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา  โดยในช่วงฤดูฝนปี 2566 ที่ผ่านมา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์สามารถเก็บกักน้ำ ได้ประมาณ 1,019  ล้านลูกบาศก์เมตร(ล้าน ลบ.ม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 106 ของความจุอ่างฯ ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวจะเป็นน้ำต้นทุน เพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ ตลอดช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 รวมระยะเวลาทั้งสิ้นกว่า 6 เดือน (1 พฤศจิกายน 2566 – 30 เมษายน 2567)  รวมไปถึงเป็นน้ำต้นทุนเพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝน กรณีที่เกิดฝนทิ้งช่วงหรือฝนยังตกไม่สม่ำเสมอ ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2567 อีกด้วย ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 (1  พฤศจิกายน 2566 – 30 เมษายน 2567) เพื่อสนับสนุนการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์ การเกษตร การอุตสาหกรรม และอื่นๆ  รวมปริมาณน้ำทั้งสิ้นกว่า 800 ล้าน ลบ.ม. เนื่องจากมีการใช้น้ำตลอดช่วงฤดูแล้งรวมทั้งสิ้นกว่า 6 เดือน ประกอบกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง จึงทำให้ปริมาณน้ำลดลงตามลำดับ โดย ณ วันที่ 6 มกราคม 2567  มีปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

กรมชลฯ กางแผนบริหารจัดการน้ำฤดูฝน 2567 เน้นเก็บกักน้ำสำรองฝนทิ้งช่วง

รูปภาพ
กรมชลประทาน เผยการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา (ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 เมษายน 2567) ทั้งประเทศมีการใช้น้ำเป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ ตลอดจนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ที่ปัจจุบันมีการเก็บเกี่ยวแล้วเกือบ 100%  สำหรับสถานการณ์น้ำ ปัจจุบัน (1 พ.ค. 67) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 41,765 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 11,256 ล้าน ลบ.ม. โดยได้มีการวางแผนจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝน 2567 (วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 ตุลาคม 2567) เพื่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ การเกษตร และอื่นๆ ทั้งประเทศรวมทั้งสิ้น 14,821 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนจัดสรรน้ำไว้ประมาณ 4,949 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งกรมชลประทานส่งน้ำสนับสนุนการเพาะปลูกข้าวนาปีในพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเริ่มเพาะปลูกข้าวได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. และเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนฤดูน้ำหลากจะมาถึง ลดผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมผลผลิตเสียหายได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนในช

ชป. เร่งกำจัดวัชพืช พร้อมสูบ/ส่งน้ำ ช่วยเหลือพื้นที่สู้ภัยแล้ง

รูปภาพ
กรมชลประทาน ไม่นิ่งนอนใจลุยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และจัดเต็มกำจัดวัชพืชกีดขวางทางน้ำ หวังเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ตามนโยบายของรัฐบาล และ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชป. เร่งกำจัดวัชพืช พร้อมสูบ/ส่งน้ำ ช่วยเหลือพื้นที่สู้ภัยแล้ง กรมชลประทาน ไม่นิ่งนอนใจลุยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และจัดเต็มกำจัดวัชพืชกีดขวางทางน้ำ หวังเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ตามนโยบายของรัฐบาล และ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภารกิจติดตั้งเครื่องสูบ/ส่งน้ำ  - สำนักงานชลประทานที่ 9 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 14 นิ้ว (เพิ่มเติม) จำนวน 2 เครื่อง บริเวณ หมู่ที่ 7 ตำบลเขาสมิงและหมู่ที่ 8 ตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด  - สำนักงานชลประทานที่ 11 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ขนาด 12 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง บริเวณปลายคลองโซน 19 ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี  - สำนักงานชลประทานที่ 15 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง บริเวณบ้านมะนาวหวาน ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช  สำนักงาน

ชป. ขนเครื่องจักรส่งน้ำ ช่วยชาวอยุธยา แก้ปัญหาภัยแล้ง

รูปภาพ
จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าว“อยุธยาแล้งหนัก น้ำแห้ง-ปลาตายเพียบ”  นั้น กรมชลประทาน โดยโครงการส่งน้ำและชป. ขนเครื่องจักรส่งน้ำ ช่วยชาวอยุธยา แก้ปัญหาภัยแล้ง บำรุงรักษาเจ้าเจ็ด - บางยี่หน  ขอชี้แจงในกรณีที่เกิดขึ้นว่า สถานการณ์น้ำแห้งคลองและมีปลาตาย ตามที่ได้ปรากฎในข่าว อยู่ในพื้นที่ตำบลมารวิชัย อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาเหตุเกิดจากปริมาณน้ำจากคลองเจ้าเจ็ดบางยี่หนลดต่ำ น้ำที่เข้าคลองส่งน้ำสาย 4 มีปริมาณน้อย และพื้นที่บริเวณนี้ มีลักษณะดอนกว่าจุดอื่น ทำให้น้ำแห้ง  เบื้องต้น กรมชลประทาน ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้พื้นที่ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว  นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือร่วมใจจากหน่วยงานท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ ดำเนินการเปิดทางน้ำ ซึ่งเดิมมีแนวคันดิน พื้นคลองสูง ทำให้คลองตื้นเขิน น้ำไหลผ่านได้น้อย  ทั้งนี้ กรมชลประทาน  มิได้นิ่งนอนใจ พร้อมเดินหน้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ให้เหตุการณ์คลี่คลายกับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด